เมนู

8. อภยมาตาเถรีคาถา


[427] ข้าแต่แม่ ท่านจงพิจารณากายนี้ ซึ่งไม่สะอาด
มีกลิ่นเหม็นเน่า เบื้องบนลงมาจนจดพื้นเท้า เบื้องล่าง
ขึ้นไปจนจดปลายผม เมื่อพิจารณาอยู่อย่างนี้ เราถอน
ราคะทั้งปวงได้ตัดความเร่าร้อนได้ เราเป็นผู้มีความ
เย็น ดับสนิทแล้ว.

จบ อภยมาตาเถรีคาถา

8. อรรถกถาอภยมาตุเถรีคาถา


คาถาว่า อุทฺธํ ปาทตลา เป็นต้น เป็นคาถาของพระเถรีผู้เป็น
มารดาของพระอภัยเถระ.
แม้พระเถรีผู้เป็นมารดาของพระอภัยเถระองค์นี้ ก็สร้างสมบุญบารมี
ไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ สั่งสมบุญทั้งหลายในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าติสสะ เกิดในเรือนตระกูล รู้ความแล้ววันหนึ่ง
เห็นพระศาสดาเสด็จเที่ยวบิณฑบาต มีใจเลื่อมใส รับบาตรแล้ว ถวายภิกษา
ประมาณทัพพีหนึ่ง ด้วยบุญกรรมนั้น นางท่องเที่ยวอยู่ในเทวโลกและมนุษย์
โลก ในพุทธุปปาทกาลนี้ ได้เป็นหญิงนครโสเภณีชื่อว่าปทุมวดี ในกรุงอุชเชนี
ด้วยวิบากแห่งกรรมเช่นนั้น พระเจ้าพิมพิสารทรงสดับคุณมีรูปสมบัติเป็นต้น
ของเธอ จึงตรัสบอกแก่ปุโรหิตว่า ได้ข่าวว่าในกรุงอุชเชนีมีหญิงงามเมืองชื่อ
ปทุมวดี ฉันใคร่จะเห็นเธอ ปุโรหิตกราบทูลว่า ดีแล้ว พระเจ้าข้า นำยักษ์ชื่อกุมภีร์
1. พระสูตร เป็น อภยมาตาเถรีคาถา.

มาด้วยกำลังมนต์ แล้วใช้อานุภาพยักษ์นำพระราชาไปยังนครอุชเชนีในขณะ
นั้นทีเดียว พระราชาทรงสำเร็จการอยู่ร่วมกับหญิงแพศยานั้นหนึ่งราตรี นางมี
ครรภ์ด้วยพระราชา และได้กราบทูลพระราชาว่า หม่อมฉันตั้งครรภ์แล้ว
พระราชาทรงสดับดังนั้นตรัสว่า ถ้าเป็นบุตรชาย เธอจงเลี้ยงให้ดีแล้วแสดง
กะเรา ได้ประทานพระธรรมรงค์จารึกพระนามแล้วเสด็จไป ล่วงไปสิบเดือน
นางคลอดบุตร ได้ตั้งชื่อว่า อภัย ในวันเป็นที่ตั้งชื่อ. และในเวลาที่บุตรมีอายุ
7 ขวบ นางได้ส่งบุตรไปเฝ้าพระราชา ด้วยบอกว่า พระเจ้าพิมพิสารมหา-
ราชเป็นพระบิดาของเจ้า พระเจ้าพิมพิสารทรงเห็นพระโอรสนั้นแล้วได้ความ
รักในบุตร ทรงให้เจริญด้วยเครื่องบริหารกุมาร เรื่องพระกุมารนั้นได้ศรัทธา
บวชและบรรลุคุณวิเศษ มีมาแล้วในหนหลังทั้งนั้น มารดาของกุมารนั้น กาล
ต่อมาได้ฟังธรรมในสำนักของพระอภัยเถระผู้เป็นบุตร ได้ศรัทธาบวชในหมู่
ภิกษุณี เจริญวิปัสสนาไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้ง
หลาย เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า1
ข้าพเจ้าได้ประคองภิกษาทัพพีหนึ่งถวายแด่
พระศาสดาพระนานว่าติสสะ ผู้เป็นพระพุทธเจ้า
ประเสริฐสุด กำลังเสด็จเที่ยวบิณฑบาตอยู่ พระศาสดา
พระนามติสสะ ผู้เป็นพระสัมพุทธะเป็นผู้นำชั้นเลิศ
ของโลกทรงรับแล้ว ประทับยืนอยู่กลางถนน ได้ทรง
อนุโมทนาแก่ข้าพเจ้าว่า เธอถวายภิกษาทัพพีหนึ่ง จัก
ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จักได้เป็นมเหสีของเทวราช
36 องค์ จักได้เป็นมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ 50
องค์ เธอจักได้ทุกอย่างที่ใจปรารถนา ในกาลทุกเมื่อ

1. ขุ. 33/ข้อ 147 กฏัจฉุภิกขาทายิกาเถรีอปทาน.

เธอเสวยสมบัติแล้วไม่มีกังวล จักบวช เธอกำหนดรู้
อาสวะทั้งหมดแล้ว จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะนิพพาน พระ
สัมพุทธเจ้าพระนามติสสะเป็นผู้นำชั้นเลิศของโลก
เป็นนักปราชญ์ตรัสดังนี้แล้ว ทรงเหาะขึ้นสู่นภากาศ
เหมือนพญาหงส์บินร่อนอยู่ในอัมพรฉะนั้น ทาน
ข้าพเจ้าถวายดีแล้วทีเดียว ยัญสมบัติข้าพเจ้าบูชาดีแล้ว
ข้าพเจ้าถวายภิกษาทัพพีหนึ่ง ถึงบทอันไม่หวั่นไหว
แล้ว ในกัปที่ 92 แต่ภัทรกัปนี้ ข้าพเจ้าทำกรรมใดไว้
ในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้น ข้าพเจ้าไม่รู้จักทุคติ นี้
เป็นผลแห่งการถวายภิกษา ข้าพเจ้าเผากิเลสแล้ว ฯลฯ
ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว.

ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว พระอภัยเถระบุตรของตนเมื่อกล่าวธรรมได้
ภาษิตคาถาใด ๆ เป็นโอวาท เธอได้กล่าวอ้างคาถานั้น ๆ แหละแม้เองเป็น
อุทานว่า
ข้าแต่แม่ ท่านจงพิจารณากายนี้ ซึ่งไม่สะอาด
มีกลิ่นเหม็นเน่า เบื้องบนลงนาจนจดพื้นเท้า เบื้อง
ล่างขึ้นไปจนจดปลายผม. เมื่อพิจารณาอยู่อย่างนี้ ถอน
ราคะทั้งปวงได้ ตัดความเร่าร้อนได้ เราเป็นผู้มีความ
เย็น ดับสนิทแล้ว.

บรรดาสองคาถานั้น คาถาแรกมีเนื้อความย่อเท่านี้ว่า ข้าแต่แม่
ปทุมวดี ท่านจงพิจารณาสรีระนี้ ชื่อว่ากายเพราะเป็นที่รวมของสิ่งที่น่าเกลียด
ทั้งหลาย ชื่อว่าไม่สะอาดเพราะเต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ ชื่อว่ามี
กลิ่นเหม็นเน่าเพราะกลิ่นเหม็นเน่าฟุ้งทุกเวลา แต่พื้นเท้าขึ้นไปเบื้องบนแต่

ปลายผมลงมาเบื้องต่ำ ด้วยญาณจักษุ ก็คาถานี้เป็นคาถาที่บุตรกล่าวให้โอวาท
แก่พระเถรีนั้น. พระเถรีฟังคาถานั้นแล้วบรรลุพระอรหัต เปล่งอุทานกล่าว
คาถาที่หนึ่งนั้นแหละ เป็นการบูชาอาจารย์เมื่อกล่าวถึงการปฏิบัติของตน จึง
กล่าวคาถาที่สองว่า เอวํ วิหรมานาย เป็นต้น.
ในคาถาที่สองนั้น บทว่า เอวํ วิหรมานาย ความว่า เมื่อเราตั้ง
อยู่ในโอวาทที่พระอภัยเถระผู้เป็นบุตรให้แล้วโดยนัยว่า อุทฺธํ ปาทตลา
เป็นต้น เห็นกายทุกส่วนว่าไม่งาม มีจิตแน่วแน่กำหนดรูปธรรมชนิดมหาภูต-
รูปและอุปาทายรูปในกายนั้น และอรูปธรรมมีเวทนาเป็นต้นที่เนื่องด้วยรูป
ธรรมนั้น ยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์พิจารณาด้วยอนิจจานุปัสสนาญาณเป็นต้นในกาย
นั้น. บทว่า สพฺโพ ราโค สมูหโต ความว่า ราคะทั้งหมดเราถอนคือ
ขุดขึ้นแล้วด้วยอรหัตมรรค ตามลำดับมรรคที่สืบต่อด้วยมรรค ด้วยวุฏฐาน-
คามินีวิปัสสนา. บทว่า ปริฬาโห สมุจฺฉินฺโน ความว่า ต่อจากนั้นแหละ
ความเร่าร้อนคือกิเลสทั้งหมด เราตัดได้โดยชอบทีเดียว และเพราะตัดความ
เร่าร้อนคือกิเลสนั้นได้นั่นเอง เราจึงเป็นผู้มีความเย็น ดับสนิทด้วยสอุปาทิ-
เสสนิพพานธาตุ.
จบ อรรถกถาอภยมาตุเถรีคาถา

9. อภยาเถรีคาถา


[428] ดูก่อนอภยา ปุถุชนข้องอยู่ในกายใด กายนั้น
มีสภาพแตกดับ เรามีสติรู้สึกตัว จักทอดทิ้งกายนี้
เราอันความทุกข์เป็นอันมากถูกต้องแล้ว ยินดีแล้วใน
ความไม่ประมาท บรรลุความสิ้นตัณหาแล้ว ได้ปฏิบัติ
คำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว.

จบ อภยาเถรีคาถา

9. อรรถกถาอภยาเถรีคาถา


คาถาว่า อภเย ภิทุโร กาโย เป็นต้น เป็นคาถาของพระเถรีชื่อ
อภยา เป็นสหายของพระอภัยมาตุเถรี.
แม้พระเถรีชื่ออภยานี้ ก็ได้สร้างสมบุญบารมีไว้ในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิขี เกิดในตระกูลกษัตริย์มหาศาล รู้ความแล้ว
ได้เป็นอัครมเหสีของพระเจ้าอรุณราช วันหนึ่งพระเจ้าอรุณราชได้ประทาน
ดอกอุบลหอม 7 ดอกแก่เธอ เธอรับดอกอุบลเหล่านั้นแล้วนั่งคิดว่า เรา
ประดับ ดอกอุบลเหล่านี้จะมีประโยชน์อะไร อย่ากระนั้นเลย เราจักเอาดอก
อุบลเหล่านี้บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าพระราชนิ-
เวศน์ในเวลาภิกขาจาร เธอเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วมีใจเลื่อมใส ต้อนรับ
บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยดอกไม้เหล่านั้น แล้วถวายบังคมด้วยเบญจางค
ประดิษฐ์ ด้วยบุญกรรมนั้น เธอท่องเที่ยวอยู่ในเทวโลกและมนุษยโลก ใน